วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษา


โครงสร้างโปรแกรมภาษาต่อไปนนี้
1.Pascal
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
โปรแกรมในภาษาปาสคาล แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
          1. ส่วนหัว (Heading) เป็นการประกาศชื่อของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วยคำว่า PROGRAM ตามด้วยชื่อของโปรแกรม และจบบรรทัดด้วย ;
รูปแบบ

PROGRAM ชื่อโปรแกรม (รายชื่ออุปกรณ์);
ตัวอย่าง
PROGRAM EXAM1;
PROGRAM EXAM1(INPUT,OUTPUT);

ข้อสังเกต ชื่ออุปกรณ์ คือ INPUT, OUTPUT หรือชื่อของไฟล์ที่เกี่ยวข้องภายในโปรแกรมถ้าไม่ระบุจะถือว่า INPUT เข้าทาง keyboard และ OUTPUT ออกทางจอภาพ
          2. ส่วนข้อกำหนด (Declaration part) คือส่วนตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงคำว่า BEGIN ของโปรแกรมหลัก และเป็นส่วนที่เรากำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้
2.1 VAR เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลให้แก่ตัวแปร
รูปแบบ
VAR รายชื่อตัวแปร : ประเภทของข้อมูล;
   ตัวอย่าง
VAR I,J,K : INTEGER;
NAME : STRING;
SALARY : REAL;
2.2 TYPE เป็นการกำหนดแบบของข้อมูลขึ้นใหม่
รูปแบบ
TYPE ชื่อของแบบ = ประเภทหรือค่าของข้อมูล;
   ตัวอย่าง
TYPE SCORE = INTEGER;
WEEK = (MON, TUE, WED, THU, FRI);
VAR TEST, MIDTERM, FINAL : SCORE;
DAY : WEEK;

จากตัวอย่างต้องประกาศชื่อแบบของตัวแปรก่อนแล้วจึงประกาศชื่อตัวแปรที่เป็นแบบ
2.3 CONST เป็นการกำหนดค่าคงที่ 
รูปแบบที่ 1
CONST รายชื่อค่าคงที่ = ค่าที่กำหนด;
รูปแบบที่ 2
CONST รายชื่อค่าคงที่ : ประเภทของข้อมูล = ค่าที่กำหนด;
ตัวอย่าง
CONST HEAD = ‘EXAMINATION’;
CONST A = 15;
CONST SALARY : REAL = 8000.00;
2.4 LABEL ใช้คู่กับคำสั่ง GOTO ภายในโปรแกรม
รูปแบบ
LABEL รายชื่อของ LABEL;
   ตัวอย่าง
LABEL 256,XXX;
เช่น GOTO 256; GOTO XXX;
          3. ส่วนคำสั่งต่าง ๆ (Statement Part) เป็นส่วนสุดท้ายของโปรแกรม ขึ้นต้นด้วย “BEGIN” และปิดท้ายด้วย “END.”
   ตัวอย่าง
BEGIN
Statement หรือคำสั่งต่าง ๆ ;
END.


2.C
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซีแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
          1. ส่วนหัวของโปรแกรม  ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการ ใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรม ในที่นี่คำสั่ง #include <stdio.h> ใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด preprocessing directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรม สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
  - #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
  - #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟที่ระบุ จากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ source code นั้น แต้ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ
          2. ส่วนของฟังก์ชั่นหลัก  ฟังก์ชั่นหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชั่น main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชั่นคือ main แปลว่า หลักดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษซีจึงขาดฟังก์ชั่นนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชั่นจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชั่น main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชั่น และจะไม่มีการคืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชั่นด้วย
 3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม เป็นส่วนของการเขียนคำสั่ง เพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้

3.Bassic
โดรงสร้างในการเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic การประกาศตัวแปร แบบ Implicit แบบ Explicit กฎการตั้งชื่อตัวแปรและค่าคงที่ การตั้งชื่อคอนโทรลและอ๊อบเจ็กต์ ตามคำแนะนำของไมโครซอฟท์ ชนิดของข้อมูล การใช้งานตัวแปรแบบใช้สัญลักษณ์พิเศษกำกับ ขอบเขตของตัวแปร ตัวแปรแบบ Local ตัวแปรแบบ Public การใช้งานตัวแปรร่วมระดับโพรซีเดอร์ การตั้งชื่อตัวแปรแบบบอกชนิดและขอบเขต ตัวแปรอาร์เรย์ แบบสแตติก แบบไดนามิก การสร้างตัวแปรอาร์เรย์มากกว่า 1 มิติ การใช้งานคอนโทรลอาร์เรย์ การสร้างชนิดของข้อมูลขึ้นใช้เอง การประกาศค่าคงที่ ตัวดำเนินการใน Visual Basic 6.0 ด้านคณิตศาสตร์ ด้านตรรกะ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านเชื่อมข้อความ


 4.Assembly
โครงสร้างของโปรแกรมแอสเซมบลี

          โปรแกรม จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของเลขไบนารี่ที่เรียกว่าภาษา Machine ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถ ติดต่อให้คอมพิวเตอร์ เข้าใจได้ ภาษา Machine นี้จะจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นเลขฐานสิบหก (HEX) เช่น คำสั่ง 8 บิต 11101011B (B-ไบนารี่) เขียนได้เป็น 0EBH(H-ฐานสิบหก) แต่ก็เป็นการที่จะเข้าใจความหมาย ได้ยากในการใช้งาน การที่จะทำความเข้าใจภาษา Machine จะมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbols) ที่เรียกว่า Mnemonics เพื่อแทนความหมายของคำสั่ง เช่น MOV A,#67H หมายความว่านำข้อมูลค่าคงที่ 67H ไปเก็บไว้ใน reg. A) โปรแกรมที่เขียนด้วยรหัส Mnemonics เรียกว่า ภาษา Assembly และก่อนที่จะให้ CPU ทำงานตามโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Assembly ได้ แต่ต้องเปลี่ยนให้เป็นภาษา Machine ก่อน โดยใช้ โปรแกรมแอสเซมเบลอ
5.Java
โครงสร้าง ภาษา Java (Java Structure)
1. เครื่องหมาย ในการควบคุม Structure
1.1 Comment คือข้อความที่แทรกเข้าไปในโปรแกรม แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม เช่นในกรณีที่เราต้องการอธิบาย Source code ไว้ใน โปรแกรม วิธีการคือ
- comment ทีละ บรรทัด ใช้เครื่องหมาย // ตามด้วยข้อความที่ต้องการ comment เช่น
//comment comment
- comment แบบครอบทั้งข้อความ ใช้เครื่องหมาย /* ข้อความที่ต้องการ comment */ เช่น
/*
Comment
Comment
*/
1.2 Keyword คือคำที่ถูกกำหนดไว้ใช้เองแล้วในภาษา Java ไม่สามารถนำมาใช้ในการตั้งชื่อภายใน โปรแกรมได้ ตัวอย่างเช่น class,boolean,char เป็นต้น

1.3 Identifiers คือชื่อที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมา เพื่อใช้แทนอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น method ,ตัวแปร หรือ class ชื่อที่ถูกต้องควรประกอบด้วย ตัวอักษร ,ตัวเลข ,_,$ และจะต้องขึ้นต้นด้วย ตัวอักษรเท่านั้น
1.4 Separators คือ อักษร หรือ เครื่องหมายที่ใช้แบ่งแยกคำในภาษา มีดังต่อไปนี้
- เครื่องหมาย () ใช้สำหรับ
1. ต่อท้ายชื่อ method ไว้ให้ใส่ parameter
เช่น private void hello( );
2. ระบุเงื่อนไขของ if ,while,for ,do
เช่น if ( i=0 )
3. ระบุชื่อชนิดข้อมูลในการ ทำ casting
เช่น String a=( String )x;
- เครื่องหมาย{ }ใช้สำหรับ
กำหนดขอบเขตของ method แล class
เช่น class A{
}
Private void hello(){
} 
2. กำหนดค่าเริ่มต้นให้ กับตัวแปร Array
เช่น String a[]={"A","B","C"};

- เครื่องหมาย [ ] ใช้สำหรับ
1. กำหนดตัวแปรแบบ Array
เช่น String a[ ];
2. กำหนดค่า index ของตัวแปร array
เช่น a[ 0 ]=10;
- เครื่องหมาย ; ใช้เพื่อปิดประโยค
เช่น String a ;
- เครื่องหมาย , ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อตัวแปรในประโยค
เช่น String a , b , c;
- เครื่อง หมาย . ใช้สำหรับ
1. แยกชื่อ package,subpackage และชื่อ class
เช่น package com.test.Test1;
2. ใช้เพื่อเรียกใช้ ตัวแปร หรือ method ของ Object
เช่น object.hello();

6.Cobol
ภาษาโคบอล (COBOL programming language) เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูงภาษาหนึ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาที่นิยมนำไปใช้ทางธุรกิจ ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 โดยนักคอมพิวเตอร์กลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า Conference on Data Systems Languages (CODASYL) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 ภาษาโคบอลมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่ตลอด ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาความแตกต่างของตัวภาษาโคบอลในแต่ละเวอร์ชัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (ANSI) จึงได้พัฒนามาตรฐานกลางขึ้นมาในปี ค.ศ. 1968 เป็นที่รู้จักกันในนามของ ANS COBOL ต่อมาเมื่อ ปี ค.ศ. 1974 ทาง ANSI ได้นำเสนอ ANS COBOL รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่ารุ่น 1968 และในปี ค.ศ. 1985 ANSI ก็นำเสนออีกรุ่นหนึ่งที่มีคุณสมบัติมากกว่ารุ่นปี 1974 รูปแบบภาษาโคบอลแบ่งออกเป็น 4 ดิวิชั่น คือ Identification division การกำหนดชื่อโปรแกรมและชื่อผู้เขียน Environment division การอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Data division การอธิบายเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล Procedure division การอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการประมวลผล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น